อัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวของหมู่บ้านเสม็ดงาม จังหวัดจันทบุรี
ผู้เขียน :
สมพงษ์ เส้งมณีย์ , บวรสรรค์ เจี่ยดำรง , เหมือนฝัน คงสมแสวง
เผยแพร่วันที่ :
19 ธ.ค. 2562
วารสารวิชาการ :
รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณีครั้งที่ 13
เล่มที่ :
ฉบับที่ :
หน้า :
413
ผู้เผยแพร่ :
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
รายละเอียด :
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยศักยภาพของทําเลที่ตั้ง ความหลากหลาย ของทรัพยากรท่องเที่ยวและความเป็นไทยประเทศไทยยังคงมีศักยภาพและโอกาสทางการท่องเที่ยวมากมายทั้งด้านทําเล ที่ตั้งในการเป็นจุดศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมประเพณี ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยในปี พ.ศ.2558 World Economic Forum: WEF ได้จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้าน การท่องเที่ยว ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 35 จาก 141 ประเทศทั่วโลก (คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ, 2560) ปัจจุบันนักท่องเที่ยวให้ความสําคัญกับการแสวงหาประสบการณ์ที่มากกว่าการท่องเที่ยวรูปแบบเดิมๆ โดย ต้องการสัมผัสวิถีชีวิตผู้คนและประเพณีท้องถิ่นอย่างแท้จริงมากกว่าการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็น รูปแบบการท่องเที่ยวที่กําลังได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ในปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงความสําคัญของการพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่และการจัดสรร แพ็คเกจการท่องเที่ยวที่สามารถให้ประสบการณ์ นักท่องเที่ยวสอดคล้องกับความ ต้องการด้วยการร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น (คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ, 2560) การท่องเที่ยวในชุมชน (Community Tourism) เป็นการท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ที่ให้ความสําคัญเรื่องการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นบทบาทของคนในชุมชนท้องถิ่นต่อการจัดการท่องเที่ยว ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ดังนั้น ชุมชนควรเข้ามามีส่วนร่วมมีบทบาทในการกําหนดทิศทางการอนุรักษ์ การจัดการ ทรัพยากร รวมถึงได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวนี้ด้วย (พจนา สวนศรี, 2554) O หมู่บ้านเสม็ดงาม จังหวัดจันทบุรี เป็นหมู่บ้านที่ได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวของจังหวัด เป็นหมู่บ้านที่มี ความพร้อมทางด้านการท่องเที่ยวชุมชน ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือผลิตภัณฑ์สินค้าทางด้านการเกษตร จะเห็นได้ว่า การสื่อสารเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างชัดเจน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจวิเคราะห์อัตลักษณ์เพื่อใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของหมู่บ้านเสม็ดงาม จังหวัดจันทบุรี ซึ่งผลวิจัยที่ได้สามารถเป็นต้นแบบ และนําไปใช้กับหมู่บ้านอื่นๆ ได้และยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาการท่องเที่ยว แห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 ถึง 2564 ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาแหล่งสินค้า บริการ ความสะดวก และการสร้าง ความสัมพันธ์ให้กับการท่องเที่ยวไทย ซึ่งกล่าวถึงการส่งเสริมการกระจาย การเดินทางท่องเที่ยว โดยการใช้ภาพลักษณ์ และเอกลักษณ์ความเป็นไทย ประสานกับการตลาด ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เสริมสร้างภาพลักษณ์ ท่องเที่ยวไทย สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ การสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่แตกต่างด้วย เอกลักษณ์วิถีไทย การเพิ่มการ ใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ ทั้งชาวไทยและต่างชาติ การกระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวกลุ่มกระแสหลัก การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า การท่องเที่ยวและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการตลาด (กรมการท่องเที่ยว, 2560)
ลิงค์ :