การประยุกต์ศิลปะการแสดงพื้นบ้านเท่งตุ๊เพื่อสมรรถภาพทางกาย
ผู้เขียน :
สมพงษ์ เส้งมณีย์ , รัจน์ชีวาต์ ตั๋นติกุลสรา , ภารดี พึ่งสำราญ , สุทธินันท์ สุทธินันท์ , บดินทร์ บดินทร์
เผยแพร่วันที่ :
19 ธ.ค. 2560
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 11
เล่มที่ :
ฉบับที่ :
หน้า :
182
ผู้เผยแพร่ :
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
รายละเอียด :
การศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของของการวิจัยเรื่อง องค์ความรู้สื่อการแสดงพื้นบ้านละครเท่งตุ๊กเพื่อเสริมสร้าง สุขภาพชุมชนท้องถิ่นจันทบุรี วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ การศึกษาองค์ความรู้สื่อพื้นบ้านละครเท่งตุ๊ก การ ประยุกต์ใช้ท่ารําละคร เท่งตุ๊กมาเป็นท่าออกกําลังกาย และประเมินสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการออกกําลังกาย ด้วยท่ารําเท่งตุ๊ก โดยออกแบบงานวิจัยผสมระหว่างเชิงคุณภาพ และการทดลอง เริ่มจากการค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับ ละครเท่งตุ๊ก ซึ่งพบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับละครเท่งตุ๊กจันทบุรีที่สําคัญได้นํามาจากงานวิจัยของ ประภาศรี ศรีประดิษฐ์ (2545) จากนั้นจึงทําการศึกษาการประยุกต์ใช้ท่ารําเท่งตุ๊กออกกําลังกาย โดยใช้วิธีสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูลวิจัยทารการออกกําลังกายจากคณะจักรวาลมงคลศิลป์ นอกจากนี้ยัง ทําการศึกษาข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์อย่าง youtube.com ประกอบการวิเคราะห์เรียนรู้การสาธิตจากท่ารําไปพร้อมกัน สําหรับการทดลองใต้เจาะจงกับกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ 26 คน ทดลองออกกําลังกายด้วยท่า เท่งตุ๊กตามโปรแกรมการออกกําลังกาย 3 เดือน และทําการประเมินสมรรถภาพทางกาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลสมรรถภาพทางกายใต้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ด้วยสถิติ repeated measures ANOVA เปรียบเทียบรายคู่ด้วยสถิติ Bonferrari ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิต .05 ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ละครเท่งตุ๊ก ได้แก่ ความรู้ที่มองเห็นได้ เช่น ตนตรีเพลงประกอบ นักแสดง เรื่องแสดง โรงละคร ฉาก ท่ารํา ส่วนความรู้ที่ไม่เปิดเผย เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การไหว้ครู การปลูกโรงละคร นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ท่ารําแม่บทละครเท่งตุ๊ก 12 กระบวนท่า มาอออกกําลังกายโดยคณะจักรวาลมงคลศิลป์ ผลการวิเคราะห์สมรรถภาพทางกาย พบว่า ท่าเต่งตึกเสริม สร้างสมรรถภาพทางกายได้อย่างแท้จริงทั้งกล้ามเนื้อแขน และขา ที่สําคัญคือ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ดังนั้นท่าร เท่งตุ๊กจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อการสื่อสาร และส่งเสริมสุขภาพทางกาย และจิตใจให้กับชุมชนท้องถิ่นจันทบุรีได้ แท้จริง
ลิงค์ :