การพัฒนาสายอากาศไมโครสตริปแบบหลายทิศทางที่ความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ สําหรับการตรวจสอบ ความชื้นภายในโรงเรือนเพาะเห็ด
ผู้เขียน :
ประพัน ลี้กุล
,
พรพิมล ฉายแสง
เผยแพร่วันที่ :
14 มิ.ย. 2562
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติสวนดุสิต 2019 ครั้งที่ 4
เล่มที่ :
ฉบับที่ :
หน้า :
1
ผู้เผยแพร่ :
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
รายละเอียด :
บทความนี้นำเสนอสายอากาศไมโครสตริปแบบ 4 องค์ประกอบ ใช้การสวิตช์เพื่อปรับทิศทางของรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นในการเพิ่มประสิทธิภาพสายอากาศให้เหมาะสำหรับการประยุกต์ในการตรวจสอบความชื้นในโรงเรือนเพาะเห็ด การสวิตช์ส่งผลให้ลำคลื่นหลักของสายอากาศพุ่งออกไปยัง 4 มุม ของโรงเรือน ทำให้การตรวจสอบทำได้ครอบคลุม การพัฒนาใช้การคำนวณขนาดเบื้องต้นของสายอากาศในแต่ละองค์ประกอบและจำลองด้วยโปรแกรมจำลองทางด้านสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Hobbies 10.0) เพื่อปรับโครงสร้างและขนาดอย่างเหมาะสม ค่าการสูญเสียย้อนกลับที่ได้จากการจำลองอยู่ที่ -31.19 เดซิเบล ที่ความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ มีอัตราการขยาย 7.3 เดซิเบลเทียบกับไอโซโทรปิก สวิตช์รูปการแพร่กระจายคลื่นของลำคลื่นหลักได้ 4 ทิศทาง จากนั้นจำลองการตรวจสอบความชื้นภายในโรงเรือนโดยปรับความชื้นจากค่าคงที่ไดอิเล็กตริกของอากาศตั้งแต่ 1 ถึง 1.2 กำลังงานเฉลี่ยที่วัดได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก -22.4 เดซิเบล ถึง -29.6 เดซิเบล เมื่อค่าคงที่ไดอิเล็กตริกของอากาศเพิ่มขึ้นส่งผลให้กำลังงานการส่งผ่านในแต่ละองค์ประกอบของสายอากาศลดลง สายอากาศถูกพัฒนาบนแผ่นวงจรพิมพ์ 2 หน้า ชนิด FR4 ที่มีค่าคงที่ไดอิเล็กตริกของวัสดุฐานรอง 4.1 องค์ประกอบของสายอากาศมีขนาด 3x3 เซนติเมตร และกราวด์ด้านหลังกว้างยาว 19.3x19.3 เซนติเมตร ค่าการสูญเสียย้อนกลับในแต่ละองค์ประกอบอยู่ที่ -17.54 เดซิเบล ข้อดีของสายอากาศที่นำเสนอคือ โครงสร้างกะทัดรัดไม่ซับซ้อน สร้างง่ายและสามารถสวิตช์แบบรูปการแพร่กระจายคลื่น ทำให้เหมาะสำหรับการประยุกต์ใช้งานกับโรงเรือนขนาดใหญ่
ลิงค์ :