การติดตามการขยายเขตเมืองในจังหวัดจันทบุรีด้วยข้อมูลการสำรวจจากระยะไกลโดยกูเกิลเอิร์ธเอนจิน
ผู้เขียน :
คัมภีร์ ธีระเวช , ขนิษฐา ยารักษ์ , ทบทอง ชั้นเจริญ
เผยแพร่วันที่ :
15 พ.ย. 2566
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
การประชุมวิชาการระดับชาติทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คร้ังที่15
เล่มที่ :
15
ฉบับที่ :
1
หน้า :
92-97
ผู้เผยแพร่ :
สมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (สคทส.)
รายละเอียด :
ข้อมูลการสำรวจจากระยะไกลโดยกูเกิลเอิร์ธเอนจิน จำนวน 102 ภาพ จากดาวเทียม Landsat 5 TM และ Landsat 8 OLI ถูกใช้สำหรับจำแนกการใช้ที่ดิน 6 ประเภท ย้อนหลัง 30 ปี ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง โดยอาศัยอัลกอริทึมป่าสุ่ม เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและศึกษารูปแบบการขยายเขตเมืองของพื้นที่ พบว่า พ.ศ. 2535 ถึงปี พ.ศ. 2555 มีการใช้ที่ดินสำหรับพืชผลไม้ล้มลุกและพืชไรมากเป็นอันดับที่ 1โดยมีพื้นที่ 3,404.96 ตร.กม. 2,596.02 ตร.กม. 2,404.79 ตร.กม. 2,604.32 ตร.กม. และ 2,623.44 ตร.กม. ในทุก ๆ 5 ปีตามลำดับ ในขณะที่ พ.ศ. 2560 และ พ.ศ. 2565 มีการใช้ที่ดินสำหรับพืชผลไม้ยืนต้นเป็นอันดับที่ 1 โดยมีพื้นที่ 2,695.83 ตร.กม. และ 2,516.83 ตร.กม. การขยายเขตของเมืองเพิ่มมากขึ้นสวนทางกับพื้นที่พืชผลไม้ล้มลุก พืชไร่ และพืชผลไม้ยืนต้นที่ลดลง การคาดการณ์ด้วยแบบจำลองซีเอ-มาร์คอฟ ชี้ให้เห็นแนวโน้มว่าใน พ.ศ. 2570 และ พ.ศ. 2575 จะมีการขยายตัวของพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นเป็น 115.15 ตร.กม. และ 126.02 ตร.กม.
ลิงค์ :