การพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดจันทบุรีสำหรับผู้สูงอายุบนระบบบริการข้อมูลแผนที่
ผู้เขียน :
ศศิกานต์ ไพลกลาง
,
ทิพวรรณ นิยมวงศ์
,
ทบทอง ชั้นเจริญ
เผยแพร่วันที่ :
1 ม.ค. 2564
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
วารสารเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ (JSID)
เล่มที่ :
2
ฉบับที่ :
1
หน้า :
1-15
ผู้เผยแพร่ :
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
รายละเอียด :
ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตจากการคาดประมาณ ประชากรประเทศไทยสัดส่วนของประชากรสูงอายุ มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การท่องเที่ยวนั้น จะช่วยสร้างความพึงพอใจต่อนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ สร้างการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ยืดอายุให้ยืนยาว ทำให้เกิดความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมความสามัคคี ความรัก และช่องว่างระหว่างวัยระหว่างผู้สูงอายุและครอบครัว
งานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการจัดทำฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชองจังหวัดจันทบุรีสำหรับผู้สูงอายุบนระบบแผนที่ออนไลน์ โดยจะทำการรวบรวมข้อมูล เช่น แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และสถานที่สำคัญ จากการตอบแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มนักท่องเที่ยวสูงอายุของจังหวัดจันทบุรี ตอบแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน เพื่อให้สามารถทราบความต้องการและแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ (2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ประจำ พนักงาน หรือผู้รับผิดชอบของแหล่งท่องเที่ยว มีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม จำนวน 69 คน และ (3) กลุ่มผู้ประกอบการหรือพนักงานของที่พักบริเวณแหล่งท่องเที่ยว ผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม จำนวน 69 คน ตอบแบบสอบถามในประเด็นสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ต่างๆ ที่สนับสนุนการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวสูงอายุ และ (4) กลุ่มนักท่องเที่ยวสูงอายุและครอบครัว หรือผู้ใช้งานเว็บไซต์ทั่วไป ผ้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม จำนวน 69 คน เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุฯ จากนั้น ทำการออกแบบฐานข้อมูลและพัฒนาฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุบนระบบบริการข้อมูลแผนที่ ในท้ายที่สุด ผู้วิจัยทำการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานโดยแบบสอบถาม ผลจากการวิจัย พบว่า การพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดจันทบุรีสำหรับผู้สูงอายุบนระบบบริการข้อมูลแผนที่ สามารถช่วยให้นักท่องเที่ยวสูงอายุทราบเส้นทางต่างๆ และสามารถวางแผนการท่องเที่ยว และพักในที่พักที่มีความเหมาะสมและปลอดภัย ในท้ายที่สุด จากผลการประเมินความพึงพอใจด้านการออกแบบ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.67 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.89 และความพึงพอใจด้านประสิทธิภาพการใช้งาน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.66 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.89 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของวิทนาท เจียะรัตน์ (2561) ได้ทำการวิเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวที่รองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุและผู้พิการ ที่สามารถช่วยให้นักท่องเที่ยวสูงอายุและผู้พิการ เกิดความสะดวอกในการเดินทางและสามารถ เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจในการใช้บริการแหล่งท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น และช่วยตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้งานได้จริง
ลิงค์ :