การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
ผู้เขียน :
เกล็ดดาว จันททีโร , พรทิพย์ ถนอมวัฒน์ , มุจรินทร์ แจ่มแสงทอง , ปรีดาวรรณ บุญมาก
เผยแพร่วันที่ :
1 ม.ค. 2565
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
วารสารศูนย์การศึกษา แพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า
เล่มที่ :
39
ฉบับที่ :
1
หน้า :
97 - 105
ผู้เผยแพร่ :
โรงพยาบาลพระปกเกล้า
รายละเอียด :
บทคัดย่อ ที่มาของปัญหา: การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะ (catheter associated urinary tract infection; CAUTI) เป็น 1 ใน 3 อันดับแรกของการติดเชื้อในโรงพยาบาลพระปกเกล้้า มีแนวโน้้มสููงขึ้้นจาก 2.59, 2.78 และ 3.25 ครั้งต่อ 1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2561 ตามลําดับสููงเกินเป้าหมายของโรงพยาบาล (<2 ครั้งต่อ 1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ)วัตถุุประสงค์์: เพื่่อศึกษาผลการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่่สัมพันธ์์กับการคาสายสวนปัสสาวะโดยใช้้แนวคิด NOCAUTI bundle วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือผู้้ป่วยที่่ใส่สายสวนปัสสาวะ ทุุกราย ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลพระปกเกล้าตั้งแต่ตุุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2564 เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้้วย 1. แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์์กับการคาสายสวนปััสสาวะที่่พัฒนาด้้วยกระบวนการใช้้หลักฐานเชิงประจักษ์์ผสมผสานกับวงจรพัฒนาคุุณภาพ PDSA โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ตามขั้นตอน คือ 1) ร่วมกันวิเคราะห์์ปัญหาทาคลินิกและแนวทางปฏิบัติฯ เดิม 2) สืบค้้นหลักฐานเชิงประจัักษ์์ตามกรอบ PICO 3) ประเมินคุุณภาพหลักฐาน 4) สังเคราะห์์และประยุุกต์์ใช้้โดยปรับปรุุงวิธีปฏิบัติเรื่องกํา หนดเกณฑ์์การถอดสายสวนปัสสาวะให้้ชัดเจน ส่งเสริมวัฒนธรรมการทํางานที่สามารถกระตุ้้นเตือนกันได้้ และกลยุุทธ์์การปฏิบัติตามแนวทางฯ โดยการนิเทศอย่างเป็นระบบ สร้้างสรรค์์ สื่อสารแนวทางให้้ง่ายต่อการจดจํา และเตือนใจ ภายใต้้แนวคิด NOCAUTI bundle ประกอบด้้วย N-Need, O-Obtain patient consent, C-Competency, A-Aseptic technique, U-Unobstructed flow, T-Timely และI-Infection risk 5) นําเสนอแนวทางฯ ที่ปรัับปรุุงต่อคณะกรรมการป้องกันและควบคุุมการติดเชื้อของโรงพยาบาลมีมติให้้ประกาศใช้้แนวทางฯ ทุุกหอผู้้ป่วยตั้งแต่ธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2564 ติดตามประเมินผลอุุบัติการณ์์CAUTI อย่างต่อเนื่องทุุกเดือน 2. แบบบันทึกข้้อมููลการติดเชือ CAUTI วิเคราะห์์ข้้อมููลด้้วยสถิติControl U Chart โดยคํานวณ Incidence density ของ CAUTI แต่ละเดือน ผลการศึกษา: หลังการใช้้มาตรการ NOCAUTI bundle ร่วมกับกําหนดกิจกรรมการนิเทศของกลุ่มการพยาบาล ใช้้สุุนทรียสนทนาในการรายงานความเสี่ยง และการทํางานกับสหสาขาวิชาชีพ พบว่า อัตราการติดเชื้อ CAUTI แต่ละเดือนลดลงสม่ำเสมอต่อเนื่องตั้งแต่กุุมภาพันธ์์ พ.ศ. 2563 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นการลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทําให้้ปีงบประมาณ 2564 อัตราการติดเชื้อ CAUTI ลดลงเหลือ1.70 ครั้ง ต่อ1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ สรุป: แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะที่พัฒนาด้้วยกระบวนการใช้้หลักฐานเชิงประจักษ์์สามารถลดอุุบัติการณ์์CAUTI ได้้ สอดคล้้องกับเป้าหมายของโรงพยาบาล (<2 ครั้งต่อ 1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ) คำสำคัญ: การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์์กับการคาสายสวนปัสสาวะ (CAUTI), การใช้้หลักฐานเชิงประจักษ์์,NOCAUTI bundle
ลิงค์ :