ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (สามภาษา) คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ผู้เขียน :
อังศุมาริน สุชัยรัตนโชค , ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา , เหมือนฝัน คงสมแสวง , ทอมมี่ เจนเสน , สริยาภา คันธวัลย์
เผยแพร่วันที่ :
1 ก.ค. 2563
วารสารวิชาการ :
วารสารบัณฑิตวิทยาลัยรำไพพรรณี
เล่มที่ :
3
ฉบับที่ :
2
หน้า :
41
ผู้เผยแพร่ :
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
รายละเอียด :
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (SurveyResearch) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์(สามภาษา) คณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีจำแนกตามเพศ อายุระดับชั้น แผนการเรียนรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน มีพี่น้องกำลังศึกษาอยู่ และสถานที่พักอาศัยปัจจุบัน ขณะที่กำลังศึกษาอยู่กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดจันทบุรีปีการศึกษา 2563 จํานวน 351 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ด้วย การเลือกโรงเรียนเฉพาะในเขตอำเภอเมือง เนื่องจากเป็นเขตการศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมากที่สุด กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการใช้ตารางของ Krejcie and Morgan การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีทางสถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation)ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตร บัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (สามภาษา) คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี แบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้ 1. ปัจจัยด้านหลักสูตร พบว่าปัจจัยด้านหลักสูตรที่ส่งเสริมความก้าวหน้าของตนเองในอนาคตเป็นอันดับแรกถัดมาคือหลักสูตรตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยมีหลักสูตรตรงกับความสามารถและความถนัด และตรงกับความต้องการที่จะศึกษาต่อ ตามลําดับ และปัจจัยสุดท้าย คือ หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์(สามภาษา) (แขนงวิชาการสื่อสารและธุรกิจการท่องเที่ยวและแขนงวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัลและสื่อใหม่)สอดคล้องกับลักษณะงานทางบ้าน 2. ปัจจัยด้านความมุ่งหมายทางการศึกษา พบว่าปัจจัยที่ส่งผลอันดับแรกคือต้องการใช้ความ รู้หรือ คุณวุฒิไปใช้ในการทํางาน ต้องการศึกษาความรู้ด้านวิชาการ ต้องการความรู้เพิ่มเติมในด้าน นี้ต้องการสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านนี้ตามลําดับ และปัจจัยสุดท้าย คือ ต้องการมีความรู้ความสามารถ 3. ปัจจัยด้านชื่อเสียงและบทบาทของมหาวิทยาลัย พบว่ามหาวิทยาลัยมีการจัดสรรทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาอย่างเพียงพอเป็นปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดจากนั้นคือมีมาตรฐานและความพร้อมในการจัดการศึกษาเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ได้รับความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเรียน ตามลำดับ และปัจจัยสุดท้ายคือศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับจากสังคม 4. ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์หลักสูตร พบว่านักเรียนทราบข่าวการรับสมัครจากครูแนะแนวของโรงเรียน เป็นอันดับแรก มีการประชาสัมพันธ์ด้านต่างๆของหลักสูตรอย่างทั่วถึง ทราบข่าวการแนะนำหลักสูตร โดยฝ่ายแนะแนวร่วมกับมหาวิทยาลัยในการรับสมัครนักศึกษาประเภทโควตา และประเภทรับสมัครตรง แผ่นพับใบปลิวการประชาสัมพันธ์รับสมัครของหลักสูตรมีความชัดเจน ตามลําดับ และปัจจัยสุดท้าย คือ ทราบข่าวการประชาสัมพันธ์หลักสูตร การรับสมัครจากเพื่อน/ รุ่นพี่/ ญาติ/ คนรู้จัก จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่สําคัญที่สุดคือ ปัจจัยด้านชื่อเสียงและบทบาท ของมหาวิทยาลัย รองลงมาคือ ปัจจัยด้านความมุ่งหมายทางการศึกษา ต่อมาคือ ปัจจัยด้านการ ประชาสัมพันธ์หลักสูตร และลําดับสุดท้ายคือ ปัจจัยด้านหลักสูตร
ลิงค์ :