รูปแบบการบริหารโรงพยาบาล ที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน
ผู้เขียน :
ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์, กศู.ด.,
เผยแพร่วันที่ :
1 เม.ย. 2556
วารสารวิชาการ :
วารสารศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า
เล่มที่ :
30
ฉบับที่ :
2
หน้า :
106-122
ผู้เผยแพร่ :
โรงพยาบาลพระปกเกล้า
รายละเอียด :
บทคัดย่อการวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารโรงพยาบาลที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อประเมินสภาพปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงพยาบาลที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปการบริหารโรงพยาบาลที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน ระยะแรกเป็นการศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุของการเกิดวิกฤตทางการเงิน นําาข้อมูลที่ได้มาพัฒนารูปแบบการบริหารโรงพยาบาลโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมตามคิดของ Kemmis และ Zuber-Skerrittประกอบด้วยกระบวนการวางแผน (Plan) การปฏิบัติ (Act) การสังเกตติดตามและประเมินผล (Observe)และการสะท้อนกลับ (Reflect) เป็นวงจรของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แล้วประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารโรงพยาบาลที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน ผลการศึกษาพบว่า การดําาเนินงาน แก้ไขภาวะวิกฤตทางการเงินของโรงพยาบาลพระปกเกล้าโดยการวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินสภาพความรุนแรงของปัญหา สื่อสารให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับในองค์กรเข้าใจ เพื่อสร้างความร่วมมือในการควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกินความจําาเป็นและเพิ่มรายได้ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง ทําาให้ในปีงบประมาณ 2554 มีรายรับมากกว่ารายจ่ายและดัชนีชี้วัดทางการเงินดีขึ้น พ้นภาวะวิกฤตทางการเงินได้ภายใน 1 ปี ดังนี้ 1) การควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยา เวชภัณฑ์ วัสดุต่างๆ และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยคําานึงถึงมาตรฐานคุณภาพบริการและสิทธิผู้ป่วยที่เหมาะสม 2) การเพิ่มรายได้ ได้แก่การสรุปเวชระเบียนผู้ป่วยในให้ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา มีรายรับเพิ่มขึ้น 100 ล้านบาท/ปี การปรับปรุงห้องพิเศษและปรับราคา มีรายรับเพิ่มขึ้น 10 ล้านบาท/ปี การเปิดบริการ Fax claim มีรายรับเพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท/ปี ปัจจัยแห่งความสําาเร็จ ได้แก่ 1) การปรับโครงสร้างการบริหารองค์กรแต่งตั้งคณะกรรมการอําานวยการรับผิดชอบการบริหารงานด้านต่างๆ 2) การสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ดีกับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาลเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ของโรงพยาบาล
ลิงค์ :