การพัฒนากรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนของ
โรงพยาบาลสังกัดสำ นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้เขียน :
ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์, กศ.ด.
เผยแพร่วันที่ :
1 ม.ค. 2559
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
เล่มที่ :
33
ฉบับที่ :
1
หน้า :
58-70
ผู้เผยแพร่ :
โรงพยาบาลพระปกเกล้า
รายละเอียด :
ที่มาของปัญหา : การจัดทำกรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนของโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นการวิเคราะห์ภาระงานในระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลชุมชนใช้การกำหนดอัตรากำลังขั้นตำ่ ปรากฏว่าอัตรากำลังสายสนับสนุน ยังไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงทั้งหมด
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบอัตรากำลังสายสนับสนุนรอบแรกและรอบสอง เสนอแนวทางการพัฒนาการจัดทำกรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนของโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (retrospective study) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณของภาระงาน เวลามาตรฐานการทำงาน เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในงานที่มีลักษณะเฉพาะ ศึกษาค้นคว้าเอกสารและ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณอัตรากำลังที่เหมาะสมผลการศึกษา: กรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนรอบแรกแตกต่างจากกรอบอัตรากำลังรอบสอง การจัดทำกรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนรอบแรก
วิเคราะห์โดยใช้หน่วยนับอัตรากำลังเทียบกับชั่วโมงการทำงานของพนักงานเต็มเวลาหนึ่งคน (full time equivalent; FTE) และกำหนดอัตรากำลังตามจำนวนเตียงที่ใช้จริง (active bed) เพื่อใช้บริหารจัดการกรอบอัตรากำลังพนักงานกระทรวงสาธารณสุขในปีงบประมาณ 2557 การจัดทำกรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนรอบสอง วิเคราะห์โดยใช้หน่วยนับอัตรากำลังเทียบกับชั่วโมงการทำงานของพนักงานเต็มเวลาหนึ่งคนร่วมกับการกำหนดอัตรากำลังขั้นต่ำตามงานบริการที่จำเป็น (service based) และกำหนดเกณฑ์ในงานจ้างเหมาบริการ (outsourcing) เพื่อใช้วางแผนและบริหารอัตรากำลังให้รองรับระบบบริการสุขภาพ
สรุป: กรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนรอบสอง มีความยืดหยุ่นกับการปฏิบัติงานจริงมากกว่ากรอบอัตรากำลังรอบแรก เนื่องจากใช้วิธีการวิเคราะห์ภาระงานหลายวิธีร่วมกัน และกำหนดอัตรากำลัง
ขั้นต่ำสำหรับโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: กรอบอัตรากำลังสายสนับสนุน หน่วยนับอัตรากำลังเทียบกับชั่วโมงการทำงานของพนักงานทำงานเต็มเวลาหนึ่งคน
ลิงค์ :