การวิเคราะห์ข้อมูลความถี่และสกัดพื้นที่เผาไหม้ ด้วยการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์ม กูเกิ้ล เอิร์ธ เอนจิน
ผู้เขียน :
ภูมิพัฒน์ อุ่นบ้าน , กัมปนาท ดีอุดมจันทร์.
เผยแพร่วันที่ :
23 ส.ค. 2566
วารสารวิชาการ :
วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่
เล่มที่ :
4
ฉบับที่ :
2
หน้า :
93-110
ผู้เผยแพร่ :
มหาวิทยาลัยพะเยา
รายละเอียด :
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจำแนกพื้นที่เผาไหม้จากข้อมูลดาวเทียม SENTINEL-2 บริเวณพื้นที่ป่าครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทยด้วยการประยุกต์ใช้กูเกิ้ล เอิร์ธ เอนจิน (Google earth engine) ผ่านการคำนวณค่าดัชนีเชิงคลื่น 2 ดัชนี ประกอบด้วย ค่าดัชนีพื้นที่เผาไหม้ (Normalized burn ratio; NBR) และค่าดัชนีความแตกต่างของพืชพรรณ (Normalized Difference Vegetation Index; NDVI) โดยพิจารณาจากกราฟแจกแจงความถี่พบว่าค่าดัชนีทั้งสองสามารถใช้วิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างระหว่างพื้นที่เผาไหม้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าและพื้นที่ป่าไม้ที่ไม่ได้เกิดการเผาไหม้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อนำค่าจากการคำนวณทางสถิติพื้นฐานมาสร้างเงื่อนไขในการจำแนกด้วยการกำหนดช่วงค่า (Thresholding) โดยให้ค่าสูงสุดและต่ำสุดของพื้นที่เผาไหม้มีขนาดเท่ากับหนึ่งช่วงของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าข้อมูลมีความสอดคล้องกับพื้นที่เผาไหม้จากการวิเคราะห์ด้วยสายตา (ภาพสีผสมเท็จ) และสอดคล้องกับข้อมูลอ้างอิงโดยมีค่าความถูกต้องโดยรวม (Overall accuracy) และค่าสัมประสิทธิ์แคปปา (Kappa) เท่ากับร้อยละ 66.80 และ 33.59 ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อตรวจสอบร่วมกับค่าดัชนีจากข้อมูลดาวเทียมแบบหลายช่วงเวลา และภาพสีผสมเท็จสามารถประยุกต์ใช้เพื่อศึกษารูปแบบการเผาไหม้ในพื้นที่ได้ทำให้ทราบถึงช่วงเวลา และระยะเวลาช่วงที่เกิดการเผาไหม้
ลิงค์ :