สมการพยากรณ์ความตั้งใจในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี Prediction Equation for Estimating COVID-19 Vaccination Intentions among Older Adults: A Case Study of Chanthaburi Province
ผู้เขียน :
เกศสุดา ขาวสร้อย , วิรัตน์ ขาวสร้อย
เผยแพร่วันที่ :
31 ธ.ค. 2566
วารสารวิชาการ :
วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก Rajamangala University of Technology Tawan-ok Research Journal
เล่มที่ :
16
ฉบับที่ :
2
หน้า :
14-23
ผู้เผยแพร่ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
รายละเอียด :
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบการถดถอยลอจิสติกทวิภาค ในการทำนายโอกาสการฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 272 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งในรูปแบบกระดาษและแบบออนไลน์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามผู้วิจัยสร้างขึ้นภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อวัคซีนโควิด-19 อิทธิพลจากสังคมเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับวัคซีนโควิด-19 การรับรู้การควบคุมตนเองในการไปฉีดวัคซีนโควิด-19 และความตั้งใจในการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยแบบสอบถามมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) ระหว่าง 0.87-1.00 และตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’ s Alpha Coefficients) มีค่าระหว่าง 0.80-0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสิถิติการถดถอยลอจิสติกทวิภาค (binary logistic regression) โดยการนำเข้าตัวแปรแบบ enter method ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของผู้สูงอายุมีทั้งหมด 6 ตัว ได้แก่ 1) ความเชื่อว่าวัคซีนมีความจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ 2) ความเชื่อว่าวัคซีนจะทำให้ทุกคนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามเดิม 3) อิทธิพลจากสมาชิกภายในครอบครัว 4) การเห็นคล้อยตามบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข 5) การรับรู้ว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพดี และ 6) การรับรู้ว่าวัคซีนช่วยลดความรุนแรงต่อการติดเชื้อ ผลทดสอบความเหมาะสมของตัวแบบลอจิตมีค่า Cox & Snell R2 = 0.502 และค่า Nagelkerke R2 = 0.736 แสดงว่า ตัวแปรสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของความตั้งใจในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ร้อยละ 50.2 และ 73.6 ตามลำดับ โดยสมการสามารถทำนายได้ถูกต้องโดยรวมร้อยละ 84.6 คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, วัคซีนโควิด-19, ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน, ตัวแบบลอจิต
ลิงค์ :