ความตั้งใจฉีดวัคซีน โค วิด-19 และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุจังหวัดจันทบุรี
ผู้เขียน :
เกศสุดา ขาวสร้อย , สมจิต ยาใจ , วิรัตน์ ขาวสร้อย , จารุณี ขาวแจ้ง , รัชต์วรรณ ตู้แก้ว , ศักดิ์นรินทร์ หลิมเจริญ
เผยแพร่วันที่ :
7 ธ.ค. 2565
วารสารวิชาการ :
วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า (The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center)
เล่มที่ :
39
ฉบับที่ :
4
หน้า :
466-474
ผู้เผยแพร่ :
ศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า
รายละเอียด :
บทคัดย่อ ที่มาของปัญหา: การทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุจะทำให้สามารถกำหนดรูปแบบ หรือกิจกรรมส่งเสริมให้เข้ารับบริการฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดจันทบุรี วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 272 คน แบบสอบถามใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเป็นแนวทางในการกำหนดปัจจัยที่ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง วันที่ 15 ตุลาคม ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา อัตราส่วนออดส์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบลอจิสติก ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 73.9 มีความตั้งใจในการฉีดวัคซีนโควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง (2.8±0.7) ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ที่พอใช้จ่าย (OR=1.87; 95%CI; 1.03-3.40) ทัศนคติบวกต่อการฉีดวัคซีน (OR=3.31; 95%CI; 1.88-5.81) การเห็นคล้อยตามลูกหลาน สมาชิกในครอบครัว (OR=8.40; 95%CI; 4.58-15.39) การทำตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (OR=6.18; 95%CI; 3.43-11.13) และการรับรู้การควบคุมตนเองในการฉีดวัคซีน (OR=3.41; 95%CI; 1.63-7.12) สรุป: ข้อพิจารณาสำคัญในการวางรูปแบบรณรงค์ให้ผู้สูงอายุเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 คือ สร้างทัศนคติด้านบวก ถ่ายทอดข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจผ่านทางลูกหลาน ครอบครัว และบุคลากรทางการแพทย์ และเพิ่มการรับรู้การควบคุมตนเองไปฉีดวัคซีน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่รายได้น้อย คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, วัคซีนโควิด-19, ความตั้งใจ, ความลังเลในการรับวัคซีน
ลิงค์ :