การพัฒนาโปรแกรมการสร้างจิตสำ นึกวิถีพุทธเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้สูงอายุ
ผู้เขียน :
ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์, ศษ.ด (หลักสูตรและการสอน) , พย.ม. (บริหารการพยาบาล) , บุญเลี้ยง ทุมทอง, ศษ.ด (หลักสูตรและการสอน) 2 Boonleng Tumtong , Ed.D (Curriculum and Instruction ) 2
เผยแพร่วันที่ :
2 ก.ค. 2566
วารสารวิชาการ :
วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2566
เล่มที่ :
34
ฉบับที่ :
2
หน้า :
252- 265
ผู้เผยแพร่ :
วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
รายละเอียด :
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนาประสิทธิผลของการสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ปัญหา ระดับภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คนโดยการสุ่มแบบแบ่งเป็นชั้นระยะที่ 2 สร้างรูปแบบโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 3 ศึกษาผลของการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมรวมจำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 9Q มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 แบบวัดความสุขใจวิถีพุทธมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .78 และแบบสอบถามโปรแกรมการสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 ดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีจำนวน 250 คน เป็นเพศหญิง จำนวน 200 คน ร้อยละ 84.50 มีระดับภาวะซึมเศร้าโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (M = 9.12, SD = 3.37) มีระดับความสุขใจวิถีพุทธโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (M = 2.27, SD = .536) และมีระดับการรับรู้การสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธจากโปรแกรมฯ ของผู้ดูแลผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.60, SD = .57) 2) ผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธ สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าลดลงหลังการเข้าฝึกอบรมตามโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า โปรแกรมการสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธมีแนวโน้มในการลดภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้น บุคลากรสุขภาพสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมผู้ดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพจิตที่ดีต่อไป คำสำคัญ: โปรแกรมการสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธ, ภาวะซึมเศร้า, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
ลิงค์ :