ความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
ผู้เขียน :
ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง , ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย , อ้อยทิพย์ บัวจันทร์ , ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์
เผยแพร่วันที่ :
26 ต.ค. 2564
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา
เล่มที่ :
16
ฉบับที่ :
2
หน้า :
78-89
ผู้เผยแพร่ :
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
รายละเอียด :
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะเครียด และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่เป็นโรคเรื้อรัง ในตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 234 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความเครียดของสวนปรุง (Suanprung Stress Test-20, SPST-20) และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale : TGDS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีปัญหาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 61.4) รองลงมา คือ เบาหวาน (ร้อยละ 38.6) 2. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่ มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 76.35) รองลงมาความเครียดสูง (ร้อยละ 19.9) และมีความเครียดน้อย (ร้อยละ 3.57) 3. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่ ไม่พบภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 76.03 และพบภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 23.97 4. ปัจจัยด้านระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียด และภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05, 0.01 และ 0.01 ตามลำดับ
ลิงค์ :