ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ภาคตะวันออก
ผู้เขียน :
ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์
,
พรนภา หอมสินธุ์
,
รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
เผยแพร่วันที่ :
3 ต.ค. 2563
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา
เล่มที่ :
15
ฉบับที่ :
2
หน้า :
25-38
ผู้เผยแพร่ :
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รายละเอียด :
การสูบบุหรี่ในนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพเป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจ เนื่องจากจะเป็นบุคคลสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนต่อไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสูบบุหรี่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาอายุ 18 ปีขึ้นไปสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จำนวน 240 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Chi-square test และ Fisher’s exact test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยมีประสบการณ์การสูบบุหรี่ร้อยละ 10.0 อายุเฉลี่ยของการสูบบุหรี่ คือ 20.5 ปีโดยกลุ่มตัวอย่างที่เคยสูบบุหรี่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดังนี้ ทดลองสูบร้อยละ 25.0 เคยสูบร้อยละ 37.5 และสูบเป็นบางครั้งตามโอกาสร้อยละ 37.5 โดยพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การใช้สารเสพติดอื่น ( = 28.44, p < .001) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ (p < .001) ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ ( = 4.27, p = .039) การสูบบุหรี่ของเพื่อน ( = 21.39, p < .001) การถูกเพื่อนชักชวนให้สูบบุหรี่ (p < .001) การสูบบุหรี่ของครอบครัว ( = 10.00, p = .002) ผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์นำไปสู่การพัฒนาแนวทางป้องกันการสูบบุหรี่ในนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพซึ่งจะเป็นบุคคลากรสุขภาพสำคัญของระบบสาธารณสุขไทยในอนาคตต่อไป
ลิงค์ :