ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มวัยทำงาน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
ผู้เขียน :
ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง , ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์ , กมลรัตน์ ทองสว่าง , ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย , กาญจนา สุขบัว , บังอร ปรอยโคกสูง
เผยแพร่วันที่ :
25 ม.ค. 2567
วารสารวิชาการ :
วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
เล่มที่ :
18
ฉบับที่ :
2
หน้า :
406-418
ผู้เผยแพร่ :
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
รายละเอียด :
โรคอ้วนลงพุงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากมาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร การศึกษาแบบภาคตัดขวางในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มวัยทำงานอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มวัยทำงาน ที่มารับบริการจากสถานบริการสาธารณสุขในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 350 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มวัยทำงานอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของภาวะอ้วนลงพุง (Adjusted OR=1.929, 95% CI=1.02-3.64) การรับรู้ประโยชน์การป้องกันภาวะอ้วนลงพุง (Adjusted OR=3.465, 95% CI=1.89-6.34) และพฤติกรรมการป้องกันภาวะอ้วนลงพุง (Adjusted OR=2.001, 95% CI=1.12-3.57) ซึ่งปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายโอกาสเกิดภาวะอ้วนลงพุง ได้ร้อยละ 21.6 ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรให้ความสำคัญในการวางแผนส่งเสริมการรับรู้ความรุนแรงของภาวะอ้วนลงพุง การรับรู้ประโยชน์การป้องกันภาวะอ้วนลงพุง และพฤติกรรมการป้องกันภาวะอ้วนลงพุง ให้แก่ประชากรในกลุ่มวัยทำงาน
ลิงค์ :