โปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ : วิจัยแบบผสมผสานวิธี
ผู้เขียน :
ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย , ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์ , ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง , ปาริชาต ญาตินิยม , จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์
เผยแพร่วันที่ :
10 พ.ค. 2566
วารสารวิชาการ :
วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ
เล่มที่ :
41
ฉบับที่ :
2
หน้า :
1-18
ผู้เผยแพร่ :
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
รายละเอียด :
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 352 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของกองสุขศึกษา แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคไม่ติดเชื้อและโรคติดเชื้อ และแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ทดสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาค เท่ากับ .86, .80 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา 2) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 33 คน ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน บุคลากรด้านสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ และร่วมพัฒนาโปรแกรม โดยใช้แบบสนทนากลุ่มย่อยและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และกลุ่มผู้สูงอายุเข้าร่วมโปรแกรม จาก 3 หมู่บ้าน จำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน กลุ่มควบคุม 33 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที ผลการศึกษาระยะที่ 1 พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ พฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคไม่ติดเชื้อและโรคติดเชื้อโดยรวมอยู่ในระดับดี คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ระยะที่ 2 พบว่า 1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ขาดความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองและขาดความรอบรู้ในด้านการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพจากสื่อออนไลน์ 2) การสร้างโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ สรุปได้ 4 กิจกรรม ดังนี้ (1) อบรมให้ความรู้และดูวีดีทัศน์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสุขภาพในผู้สูงอายุ (2) พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องผู้สูงอายุกินดี ฟันดี ต้านโรค (3) ฝึกทักษะการออกกำลังกายและการบริหารจิตใจ (4) ฝึกทักษะการเข้าถึงข้อมูล และการรู้เท่าทันสื่อ และ 3) หลังการทดลองใช้โปรแกรมของกลุ่มทดลอง พบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี พฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคไม่ติดเชื้อและโรคติดเชื้อโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคโรคไม่ติดเชื้อและโรคติดเชื้อ และคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ดังนั้นการศึกษานี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวิจัยเชิงทดลองเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ
ลิงค์ :