ผลของ โปรแกรมการลดการสูบบุหรี่โดยใช้การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการลดการสูบบุหรี่อย่างมี ส่วนร่วมของนักศึกษาที่ติดบุหรี่
ผู้เขียน :
เขมิกา ณภัทรเดชานนท์
,
ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์
,
จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์
เผยแพร่วันที่ :
26 พ.ค. 2566
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
เล่มที่ :
29
ฉบับที่ :
2
หน้า :
1-15
ผู้เผยแพร่ :
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
รายละเอียด :
การสูบบุหรี่ เป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม บุหรี่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญที่สุดของโรคที่สามารถป้องกันได้ การวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของนักศึกษาก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการลดการสูบบุหรี่โดยใช้การรับรู้สมรรถนะแห่งตน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ติดบุหรี่ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 20 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการสอนตามทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา.60 2) แบบประเมินระดับการติดนิโคติน (Fagerstrom Test for Nicotine Dependence [FTND]) ฉบับแปลเป็นภาษาไทย มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .86 และ3) ชุดตรวจกรองสารโคตินินในปัสสาวะอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และ Wilcoxon signed rank test ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยระดับการติดนิโคตินลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z= -2.277, p = .023) และพบสารโคตินินในปัสสาวะลดลงก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงสรุปได้ว่านักศึกษามีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลง ดังนั้นการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสังคมหรือพื้นที่อื่น เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการลดการสูบบุหรี่ได้
ลิงค์ :