ระดับและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพของประชากรก่อนวัยสูงอายุในอําเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
ผู้เขียน :
ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์ , ทศพร บุญญานุสนธิ์ , ณัฐรดา แฮคํา , ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย
เผยแพร่วันที่ :
26 มิ.ย. 2566
วารสารวิชาการ :
วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา
เล่มที่ :
18
ฉบับที่ :
2
หน้า :
1-16
ผู้เผยแพร่ :
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
รายละเอียด :
การศึกษานี้มีรูปแบบการวิจัยเชิงสํารวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อมกับการเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ ในอําเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรก่อนวัยสูงอายุ อายุ 50 -59 ปี จํานวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงพรรณาและไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า การเตรียมความพร้อมโดยรวมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ อยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 81.41 รองลงมา คือ ระดับต่ํา ร้อยละ 11.92 และระดับสูงร้อยละ 6.67 ตามลําดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีทั้งปัจจัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ รูปแบบการอยู่อาศัย(x2= 15.104,p < .004)โรคประจําตัว (x2= 6.514,p < .039)และปัจจัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม (x2= 21.193,p < .001)ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ควรพัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพที่สัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่อไปคําสําคัญ: การเตรียมความพร้อม; ประชากรก่อนวัยสูงอายุ;สังคมสูงวัย
ลิงค์ :