การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)
และการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน
ผู้เขียน :
ธีรพงษ์ จันเปรียง
,
เจนวิทย์ วารีบ่อ
,
อติราช เกิดทอง
เผยแพร่วันที่ :
1 ม.ค. 2566
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
วารสารวิจัยรำไพพรรณี
เล่มที่ :
ฉบับที่ :
1
หน้า :
59-71
ผู้เผยแพร่ :
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
รายละเอียด :
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตามช่วงเวลาของการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน 4) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กับการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน 5) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน
ผลการวิจัย 1) ผลการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) พบว่า หลังเรียน นักศึกษามีคะแนนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 77.08 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก และผลการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน พบว่า นักศึกษามีคะแนนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 75.94 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม พบว่า หลังจากเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม พบว่า หลังจากเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการเปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และกลุ่มที่เรียนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน พบว่า นักศึกษากลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กับกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน ไม่แตกต่างกัน 5) ความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) พบว่า ด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ ความพึงพอใจต่อผลที่ได้รับจากการเรียนการสอน รองลงมา คือ ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการเรียน และความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน พบว่า ด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ ความพึงพอใจต่อผลที่ได้รับจากการเรียนการสอน รองลงมา คือ ความพึงพอใจต่อกระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ
คำสำคัญ : ทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และการจัดการเรียนรู้
แบบบันได 5 ขั้นตอน
ลิงค์ :