การพัฒนาการทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (4C) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ผู้เขียน :
ธีรพงษ์ จันเปรียง*, เจนวิทย์ วารีบ่อ, สมปอง มูลมณี
เผยแพร่วันที่ :
1 ก.ย. 2564
วารสารวิชาการ :
วารสารวิจัยรำไพพรรณี
เล่มที่ :
ฉบับที่ :
3
หน้า :
196-203
ผู้เผยแพร่ :
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
รายละเอียด :
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษา 2) เปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้และ นวัตกรรมระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการเรียนรู้เชิงรุก และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 58 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบวัดและแบบสังเกตทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ เชิงรุก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการทดสอบ t แบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยของทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 50.00 หลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 70.26 ทักษะ การสื่อสารก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 57.47 หลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 76.29 ทักษะการร่วมมือก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 47.32 หลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 79.69 และทักษะความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 44.83 หลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 77.83 2. หลังจากเรียนด้วยการเรียนรู้เชิงรุกนักศึกษามีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เชิงรุกในระดับมากที่สุด คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (4C), ระดับปริญญาตร
ลิงค์ :