ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับประทานกรดโฟลิกของสตรีตั้งครรภ์
ผู้เขียน :
ศิรินภา แก้วพวง , วรรณี เดียวอิศเรศ , จันทิมา ชินสร้อย
เผยแพร่วันที่ :
31 ส.ค. 2565
วารสารวิชาการ :
วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล
เล่มที่ :
37
ฉบับที่ :
2
หน้า :
192-202
ผู้เผยแพร่ :
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
รายละเอียด :
บทนําา: การรับประทานกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์สามารถป้องกันความพิการของทารกในครรภ์ได้ แต่ในปัจจุบันสตรีตั้งครรภ์มีการปฏิบัติอย่างจําากัดวัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับประทานกรดโฟลิกของสตรีตั้งครรภ์ ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงทําานาย กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีตั้งครรภ์แรกที่มารับบริการ ณ หน่วยฝากครรภ์โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชาจําานวน 130 ราย ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เกี่ยวกับกรดโฟลิก มีค่าความเชื่อมั่น .79 แบบสอบถามการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับกรดโฟลิก มีค่าความเชื่อมั่น .80 แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการรับประทาน กรดโฟลิก มีค่าความเชื่อมั่น .78 แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการรับประทานกรดโฟลิก มีค่าความเชื่อมั่น .82 แบบสอบถามการรับประทานกรดโฟลิกก่อนและขณะตั้งครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่น .89 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน-เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย: พบว่า มีสตรีตั้งครรภ์รับประทานกรดโฟลิก 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์จนถึง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ร้อยละ 7.70 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับประทานกรดโฟลิกของสตรีตั้งครรภ์อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับกรดโฟลิก (AOR = 17.46, 95% CI = 1.40-217.63) การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับกรดโฟลิก (AOR = 208.07, 95% CI = 3.97-10903.52) และการรับรู้อุปสรรคในการรับประทานกรดโฟลิก (AOR = .79, 95% CI = .62-1.00) และปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อการรับประทานกรดโฟลิกของสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับการรับประทานกรดโฟลิก (AOR = .72, 95% CI = .46-1.14)สรุปผล: สตรีตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการรับประทานกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์น้อย ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่สําาคัญ ดังนั้นบุคลากรทางสุขภาพควรตระหนักเพื่อป้องกันความพิการของทารกในครรภ์ ข้อเสนอแนะ: จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรนําาผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการรณรงค์ให้สตรีมีความรู้เกี่ยวกับกรดโฟลิกที่ถูกต้อง และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้สตรีวัยเจริญพันธุ์รับประทานกรดโฟลิกเพื่อเตรียมตนเองให้พร้อมก่อนการตั้งครรภ์
ลิงค์ :