ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการฝังยาคุมกำาเนิดต่อความรู้และการใช้ยาฝังคุมกำาเนิดของวัยรุ่นหลังคลอด
ผู้เขียน :
จารุวรรณ์ ท่าม่วง , วรรณทนา ศุภสีมานนท์ , วรรณี เดียวอิศเรศ
เผยแพร่วันที่ :
31 ธ.ค. 2564
วารสารวิชาการ :
วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
เล่มที่ :
31
ฉบับที่ :
2
หน้า :
104-122
ผู้เผยแพร่ :
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า
รายละเอียด :
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการฝังยาคุมกําาเนิดต่อความรู้และการใช้ยาฝังคุมกําาเนิดของวัยรุ่นหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นหลังคลอดขณะพักฟื้นที่หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี จําานวน 66 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการส่งเสริมการฝังยาคุมกําาเนิด แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการฝังยาคุมกําาเนิดของวัยรุ่นหลังคลอด มีค่าความเชื่อมั่น .73 และแบบบันทึกการรับบริการฝังยาคุมกําาเนิด ดําาเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, Fisher’s exact test, Mann-Whitney U test, paired t-test และ independent t-testผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการฝังยาคุมกําาเนิดสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติ (t = 9.670, p < .001) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนความรู้เกี่ยวกับการฝังยาคุมกําาเนิดก่อนและหลังการทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติ (t = 5.540, p < .001) และกลุ่มทดลองมีสัดส่วนของวัยรุ่นหลังคลอดที่ได้รับการฝังยาคุมกําาเนิดก่อนจําาหน่ายจากโรงพยาบาลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติ ( Chi-square = 4.980, p < .05) จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรนําาโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลวัยรุ่นตั้งครรภ์และวัยรุ่นหลังคลอด โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการฝังยาคุมกําาเนิด และให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการสนับสนุน เพื่อให้วัยรุ่นมีการคุมกําาเนิดที่มีประสิทธิภาพ อันเป็นการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ซํา้าอย่างรวดเร็วในวัยรุ่น
ลิงค์ :