ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน
ผู้เขียน :
กุสุมล แสนบุญมา
,
วรรณี เดียวอิศเรศ
,
อุษา เชื้อหอม
เผยแพร่วันที่ :
30 ก.ย. 2562
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
เล่มที่ :
27
ฉบับที่ :
3
หน้า :
23-30
ผู้เผยแพร่ :
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รายละเอียด :
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นการเปลี่ยนแปลงที่วิกฤติทางอารมณ์ของมารดาหลังคลอด มีผลกระทบทั้งต่อมารดาหลังคลอด ทารกและครอบครัว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาในระยะ 4-8 สัปดาห์หลังคลอด ที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน และมารับบริการตรวจสุขภาพหลังคลอดบุตรหรือพาบุตรมารับบริการที่หน่วยเด็กสุขภาพดี ที่โรงพยาบาลระยอง โรงพยาบาลบางละมุง หรือคลินิกเอกชน/โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 98 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างตอบเอง ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แบบสอบถามความเครียดจากการดูแลบุตร แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐานผลการวิจัยพบมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉินมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คิดเป็นร้อยละ 20.20 อายุของมารดา รายได้ของครอบครัว ระยะเวลาของบุตรที่ต้องรับการรักษาที่หออภิบาลทารกแรกเกิด ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความเครียดจากการดูแลบุตรและการสนับสนุนทางสังคมร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉินได้ร้อยละ 56 (Adjusted R2 = .53, F6, 91 = 19.307, p < .05) โดยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมากที่สุด (β = -.59, p < .05) รองลงมาคือความเครียดจากการดูแลบุตร (β = .20, p < .05) และระยะเวลาของบุตรที่ต้องเข้ารับการรักษาที่หออภิบาลทารกแรกเกิด (β = .17, p < .05) ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลผดุงครรภ์ควรมีการจัดโปรแกรมส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการจัดการความเครียดจากการดูแลบุตรหลังคลอดโดยเฉพาะในรายที่บุตรต้องรักษาตัวที่หออภิบาลทารกแรกเกิดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดากลุ่มนี้
ลิงค์ :