การศึกษาวิเคราะห์บทไหว้ครูรำสวด จังหวัดจันทบุรี
ผู้เขียน :
PHISUT KANBOON
เผยแพร่วันที่ :
27 พ.ค. 2565
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
เล่มที่ :
15
ฉบับที่ :
2
หน้า :
58-68
ผู้เผยแพร่ :
รายละเอียด :
การวิเคราะห์บทไหว้ครูรำสวด จังหวัดจันทบุรีใช้หลักการวิจัยทางมนุษยดุริยางควิทยา (Ethnomusicology) โดยมีจุดมุ่งหมายของการวิจัยไว้ 3 ข้อ คือ 1) ประวัติและบทร้องไหว้ครูรำสวดคณะต่างๆ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีบทร้องไหว้ครูรำสวด และ 3) วิเคราะห์คุณค่าบทร้องไหว้ครูรำสวด ผลการวิจัย พบว่า ประวัติความเป็นมาของคณะรำสวด มีจำนวน 8 คณะ คือ คณะป้าเกื้อ คณะผู้ใหญ่แพน คณะมงคล มรรคผล คณะมานะ ตากมัจฉา คณะแม่บังอร และคณะเจ๊เยาะ อายุในการก่อตั้งคณะรำสวดยาวนานตั้งแต่ 7 - 30 ปีขึ้นไป วัยของสมาชิกประกอบด้วยเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดถึงผู้สูงอายุ ขั้นตอนการแสดงรำสวดเริ่มจากหลังพิธีสวดพระอภิธรรม ซึ่งเป็นลักษณะครูพักลักจำสืบต่อกันมา การวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีบทร้องไหว้ครูรำสวด พบว่าใช้ทำนองสำเนียงพม่าของเก่า 3 คณะ ทำนองสำเนียงมอญ 1 คณะ ทำนองสำเนียงไทย 2 คณะ ทำนองสำเนียงลาว 1 คณะ ทำนองรำสวดโบราณ 1 คณะ อัตราจังหวะ ใช้อัตราจังหวะ 2 ชั้น เป็นหลัก บันไดเสียง ใช้บันไดเสียงฟา จำนวน 5 คณะ บันไดเสียงโด จำนวน 2 คณะ ใช้บันไดเสียงโดและฟา สลับกัน จำนวน 1 คณะ คีตลักษณ์และรูปแบบของเพลง ใช้รูปแบบทำนองเพลงที่มีทำนองสร้อยสลับกับทำนองร้องจำนวน 4 คณะ ใช้ทำนองรับสลับกับทำนองร้อง 3 คณะ ใช้รูปแบบที่มีทำนองร้องและทำนองรับสอดกันไปจำนวน 1 คณะ นอกจากนี้การวิเคราะห์คุณค่าบทร้องไหว้ครูรำสวด ฉันทลักษณ์ที่ปรากฏเป็นคำประพันธ์ที่ผสมผสานกลอนลิเกและกลอนสุภาพเข้าด้วยกัน คุณค่าของบทเพลงทางด้านวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกัน เป็นการแสดงความเคารพพระคุณของสิ่งต่างๆ คุณค่าของบทเพลงทางด้านภาษา ใช้คำสัมผัสสระระหว่างวรรคและภายในวรรค สัมผัสอักษรระหว่างวรรคและภายในวรรคอย่างไพเราะหลากหลาย บางคณะได้ใช้คำภาษาพื้นบ้านแบบโบราณ ซึ่งมีความคล้องจองและมีความหมายคู่กัน หรือภาษาที่แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน
ลิงค์ :