การศึกษารวบรวมบทเพลงรำวงโบราณในหมู่บ้านตะปอนใหญ่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
ผู้เขียน :
PHISUT KANBOON , CHAWANRAT SOMNUEK
เผยแพร่วันที่ :
27 พ.ค. 2565
วารสารวิชาการ :
เล่มที่ :
19
ฉบับที่ :
2
หน้า :
114-122
ผู้เผยแพร่ :
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
รายละเอียด :
บทเพลงรำวงโบราณเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่งในด้านของบทร้องประกอบท่ารำ ช่วยสร้าง ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียดจากปัญหาในชีวิตประจำวัน ซึ่งบทเพลงรำวงโบราณ ที่ทำการศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่นำมาจากบทสัมภาษณ์ของนายกาญจน์ กรณีย์ จากบทเพลงทั้งหมดประมาณ 30 บทเพลง แต่มีที่นิยมร้องในวงประมาณ 10 บทเพลง ซึ่งเมื่อวิเคราะห์บทเพลงรำวงโบราณ ทั้ง 10 บทเพลง พบว่าเป็นบทเพลงทำนองเดียว (Monophonic Texture) ใช้อัตราจังหวะธรรมดา (Simple Time) 2/4 Duple Time โดยมีรูปแบบลักษณะอัตราจังหวะทั้งหมด 25 รูปแบบ มีช่วงเสียงใน 2 ลักษณะ คือ ช่วงเสียงขั้นคู่เสียงธรรมดา และช่วงเสียงขั้นคู่เสียงผสม โดยมีโน้ตในระดับเสียงต่ำสุดที่โน้ตตัว G ใต้เส้นน้อยเส้นที่สองของบรรทัดห้าเส้น ในบทเพลงนกเขาไฟกับบทเพลงยามเย็น และพบโน้ตในระดับสูงสุดที่โน้ตตัว A เหนือบรรทัด ห้าเส้น คาบเส้นน้อยเส้นที่หนึ่งในบทเพลงรุ้งกินน้ำ นอกจากนี้ยังพบว่าบทเพลงทั้งหมดมีการใช้โน้ตเพียง 5 – 7 ตัวโน้ต โดยสามารถแบ่งบทเพลงตามการวิเคราะห์บันไดเสียงออกเป็น 3 กลุ่มเพลง คือ กลุ่มที่ใช้บันไดเสียง 5 เสียง (เพลงไหว้ครู เพลงปักษาจะบิน เพลงยามเย็น และเพลงกระต่ายเจ้าขา) กลุ่มที่ใช้บันไดเสียง 6 เสียง (เพลงเร็วเข้าสิ เพลงรำวงกันก่อนนะเธอ บทเพลงเจ้านกเขา เพลงนกเขาไฟ และเพลงกาเหว่า) และกลุ่มที่ใช้ บันไดเสียง 7 เสียง (เพลงรุ้งกินน้ำ)
ลิงค์ :