การสร้างรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนของการแสดงรำสวดในภาคตะวันออก
ผู้เขียน :
พิสุทธิ์ การบุญ , จำลอง แสนเสนาะ , ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ , สุรศักดิ์ จำนงค์สาร
เผยแพร่วันที่ :
27 พ.ค. 2565
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
วารสารวิจัยรำไพพรรณี
เล่มที่ :
15
ฉบับที่ :
3
หน้า :
165-171
ผู้เผยแพร่ :
รายละเอียด :
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคุณค่าของการแสดงรำสวดในสังคมไทย และเพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความยั่งยืนของการแสดงรำสวดในภาคตะวันออก เป็นการใช้แนวทางการวิจัยแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary Research) โดยวิธีการผสมผสานร่วมกันระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์ และการวิจัยเชิงคุณภาพแนวชาติพันธุ์วรรณา นอกจากนี้ยังใช้วิธีวิทยาการวิจัย ด้วยการเลือกกรณีศึกษาจากตัวอย่างในเชิงคุณภาพที่มีความแตกต่างกันของคณะรำสวดในจังหวัดของภาคตะวันออกได้แก่ จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ผลการวิจัยนี้พบว่าคุณค่าทางประวัติศาสตร์สร้างความสำคัญในแง่ของการจรรโลงจิตใจคนในสังคมให้มีศีลธรรม เกรงกลัวต่อบาป และปฏิบัติตนอยู่ในหลักศีลธรรมอันดีงาม ขณะที่ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความยั่งยืนของการแสดงรำสวดในภาคตะวันออกนั้น พบว่าจะต้องอาศัยการบูรณาการปัจจัยต่าง ๆ ร่วมกันรวม รวม 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการจัดการศึกษา ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และปัจจัยด้านการพัฒนารูปแบบการแสดงรำสวดร่วมสมัย
ลิงค์ :