บันทึกภาคสนาม : การสัมภาษณ์ครูโทโปน วิทยากรประจำศูนย์วัฒนธรรมมอญ หมู่บ้านวังกะ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี Field note: the interview of Toponeteacher, the lecturer of Mon Culture Center at Wangka Village, Sangkhlaburi District, Kanchanaburi
ผู้เขียน :
รัชชานนท์ ยิ้มระยับ , วารินทร์ สุภาภรณ , นวรัตน์ นักเสียง
เผยแพร่วันที่ :
27 ส.ค. 2563
วารสารวิชาการ :
เล่มที่ :
7
ฉบับที่ :
1
หน้า :
77-88
ผู้เผยแพร่ :
วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
รายละเอียด :
หมู่บ้านวังกะ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็งทาง วัฒนธรรมดนตรีอย่างมาก ดังเห็นได้จากผู้คนในชุมชนให้ความนิยมและสนใจศิลปะการแสดงดนตรี ชาติพันธุ์มอญของตัวเอง อีกทั้งยังรักษาจารีตประเพณีดั้งเดิมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่น บรรพชนอีกด้วย ลักษณะที่ชัดเจนของคนชาติพันธุ์มอญ หมู่บ้านวังกะ อีกประการหนึ่ง คือ ความ เลื่อมใสในศาสนาพุทธ คนในชุมชนรักษาศีลห้าอย่างเคร่งครัด ไม่ปรากฏว่ามีการค้าขายสุราและ ยาสูบในชุมชน ในขณะเดียวกันก็มีความผลักดันการทำบุญตักบาตรถวายพระสงฆ์ในตอนเช้าให้เป็น จุดขายประจำหมู่บ้านสำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาในพุทธศาสนาของ คนหมู่บ้านวังกะได้เป็นอย่างดี และเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้เขียนเกิดความประทับใจในชุมชนคนมอญ หมู่บ้านวังกะ เนื้อหาสาระทางดนตรีมอญที่ผู้เขียนได้มาจากการลงพื้นที่ภาคสนาม กลับกลายเป็น ส่วนประกอบเพียงส่วนหนึ่งของงานวิจัย เพราะส่วนที่มีความสำคัญนั้นคือการได้รู้จักผู้คนชุมชนมอญ ที่เป็นกัลยาณมิตรที่ดี อีกทั้งได้รับประสบการณ์มากมายที่มีร่วมกับบุคคลและสถานที่แห่งนั้น สิ่งเหล่านี้คือองค์ความรู้และประสบการณ์ที่จะอยู่ติดตัวผู้เขียนไปอีกยาวนาน บุคคลที่ผู้เขียนได้มีโอกาสสัมภาษณ์อย่างใกล้ชิดมีอยู่หลายบุคคล หนึ่งในจำนวนนั้นคือ ครูโทโปน วิทยากรของศูนย์วัฒนธรรมอญ หมู่บ้านวังกะ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากการที่ได้สัมภาษณ์และรู้จักกับครูโทโปน สามารถเป็นช่องทางให้รู้จักเครือข่ายบุคคลและ สถานที่อื่น ๆที่เป็นประะโยชน์ต่องานวิจัยของผู้เขียนเพิ่มขึ้นอีกมากมาย คำสำคัญ: ภาคสนาม ครูโทโปน ดนตรีมอญ
ลิงค์ :