การปรับสภาพน้ำมันทอดที่ใช้แล้วผ่านกระบวนการย่อยสลายไฮโดรคาร์บอนด้วยเชื้อจุลินทรีย์สำหรับการผลิตไบโอดีเซล
ผู้เขียน :
เอกนรินทร์ ธนะกิจไพรินท์ , จำนงค์ ธัญญเพียรกุล
เผยแพร่วันที่ :
10 ธ.ค. 2563
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา
เล่มที่ :
26
ฉบับที่ :
3
หน้า :
254-262
ผู้เผยแพร่ :
มหาวิทยาลัยบูรพา
รายละเอียด :
จุลินทรีย์ที่พบตามธรรมชาติในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนน้ำมัน พบว่ามีความสามารถในการย่อยสลายสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำมันทอดที่ใช้แล้ว โดยการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ที่เก็บตัวอย่างจากพื้นที่ที่ปนเปื้อนน้ำมันเพื่อให้ได้เชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ ซึ่งพิจารณาจากการผลิตเอนไซม์ไลเปสในอาหารชนิด Tween 80 โดยมีจุดประสงค์หลักในการปรับสภาพน้ำมันทอดที่ใช้แล้ว เพื่อการสังเคราะห์ไบโอดีเซลจากน้ำมันทอดที่ใช้แล้ว ซึ่งจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Indigenous microorganisms) ที่ผ่านการคัดแยก พบว่าเป็นแบคทีเรียแกรมลบ โดยมีลักษณะเป็นท่อนและกลมรี ซึ่งมีคุณลักษณะสามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายไขมัน (Lipid) โดยคุณสมบัติเฉพาะในการย่อยสลายไฮโดรคาร์บอน และลดปริมาณกรดไขมันอิสระ ความหนืดและกลิ่นเหม็นหืนได้ ทั้งนี้กระบวนการการย่อยน้ำมันโดยแบคทีเรียที่ผลิตเอนไซม์ไลเปสมีอัตราส่วนที่เหมาะสมของอาหารต่อน้ำมันทอดที่ใช้แล้ว คือ 80 : 20 ด้วยความเร็วรอบในการเขย่าที่ 170 รอบ/นาที เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง นอกจากนี้พบว่าน้ำมันทอดที่ใช้แล้วที่ผ่านการย่อยด้วยแบคทีเรียมีปริมาณกรดไขมันอิสระลดลง รวมทั้งสามารถลดความหนืดและกลิ่นหืนได้
ลิงค์ :