การประเมินระดับเสียงและสมรรถนการได้ยินของพนักงานโรงงานซ่อมบำรุงโครงสร้างเหล็ก
ผู้เขียน :
อรรถกร คำฉัตร
,
เอกนรินทร์ ธนะกิจไพรินท์
,
จักรพันธ์ โพธิพัฒน
เผยแพร่วันที่ :
4 พ.ย. 2564
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
Life Sciences and Environment Journal
เล่มที่ :
22
ฉบับที่ :
2
หน้า :
128-136
ผู้เผยแพร่ :
Research and Development Institute Pibulsongkram Rajabhat University
รายละเอียด :
การประเมินระดับเสียงในโรงงานซ่อมบํารุงโครงสร้างเหล็กครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือวัดระดับเสียงตามจุดที่กําหนดไว้จุดละ 5 นาที และทําแผนที่เสียงด้วยโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร ซึ่งพบว่าในพื้นที่เปิดโล่งของโรงงานมีระดับเสียงต่ําที่สุด 51.0 เดซิเบลเอ และในพื้นที่โรงงานของแผนกพ่นทรายมีระดับเสียงสูงที่สุด 104.2 เดซิเบลเอ สําหรับผลตรวจการได้ยินของพนักงานด้วยโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลุ่มตัวอย่าง 18 คน จากแผนกพ่นทราย แผนกโครงสรางเหล็ก 1 และ 2 พบวาพนักงานมีอายุเฉลี่ย 40.7±8.4 ป พนักงานมีการไดยินปกติ 12 คน เฝาระวัง 5 คน และผิดปกติ 1 คน ตรวจพบการเกิดร่องของการได้ยินในพนักงานทั้ง 3 กลุ่ม โดยพบร่องรูปตัววีที่หูข้างขวา 6 คน พบร่องที่หูข้างซ้าย 1 คน และพบร่องรูปตัวยูรวม 3 คน ขณะที่แผนกพ่นทรายมีระดับเสียงเฉลี่ยสูงที่สุด แต่มีสัดส่วนพนักงานที่เข้ากลุ่มเฝ้าระวังน้อยที่สุดนั้น เนื่องจากมีขั้นตอนการทํางานชัดเจน สําหรับแผนกโครงสร้างเหล็ก 1 เนื่องจากมีพื้นที่ที่ระดับเสียงเกิน 85 เดซิเบลเอ จึงควรตรวจวัดปริมาณเสียงสะสม เพิ่มจํานวนกลุ่มตัวอย่าง จัดให้มีการตรวจสมรรถภาพการได้ยินซ้ํา และควรปรับปรุงสภาพแวดลอมในการทํางาน
ลิงค์ :