การเปรียบเทียบคุณสมบัติในน้ำยาล้างจานจากขี้เถ้าเปลือกปูต้มและน้ำยาล้างจานจากขี้เถ้ากระถินณรงค์.
ผู้เขียน :
เอกนรินทร์ ธนะกิจไพรินท์ , อภิวัฒน์ ทิงคู่ , อริญญา ใจตรง , วาสนา คำปวน.
เผยแพร่วันที่ :
8 ธ.ค. 2562
วารสารวิชาการ :
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เล่มที่ :
21
ฉบับที่ :
2
หน้า :
216-220
ผู้เผยแพร่ :
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รายละเอียด :
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติในน้ำยาล้างจานจากขี้เถ้าเปลือกปูต้มผสมน้ำมะกรูด และน้ำยาล้างจานจากขี้เถ้ากระถินณรงค์ผสมน้ำมะกรูด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตน้ำยาล้างจานจากขี้เถ้าเปลือกปูต้มผสมน้ำมะกรูดและน้ำยาล้างจานจากขี้เถ้ากระถินณรงค์ผสมน้ำมะกรูด โดยใช้อัตราส่วนผสม 1 : 4 ซึ่งวิเคราะห์คุณลักษณะของน้ำยาล้างจานตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ 177 – 2553 และการวิเคราะห์โลหะหนักในส่วนผสมของน้ำยาล้างจานตามวิธีมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัยพบว่าน้ำยาล้างจานจากขี้เถ้าเปลือกปูต้มผสมน้ำกรูดมีค่าความเป็นกรด – ด่าง เท่ากับ 10.33 ซึ่งปริมาณโลหะหนักปนเปื้อนทั้งหมดเท่ากับ 14.46 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนน้ำยาล้างจานจากขี้เถ้ากระถินณรงค์ผสมกับน้ำมะกรูดมีค่าความเป็นกรด – ด่างเท่ากับ 7.65 ซึ่งปริมาณโลหะหนักปนเปื้อนทั้งหมดเท่ากับ 6.53 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทั้งนี้น้ำยาล้างจานทั้ง 2 ชนิด เป็นไปตามมาตรฐานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนเลขที่ 177 – 2553 โดยน้ำยาล้างจานที่ผลิตขึ้นมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันละลายน้ำได้ดี มีปริมาณฟองและประสิทธิภาพการกำจัดสิ่งสกปรกอยู่ในเกณฑ์ดี มีต้นทุนวัตถุดิบในการผลิต 5 บาทต่อขวดขนาด 150 มิลลิลิตร นอกจากนี้เมื่อนำมาทดสอบความพึงพอใจจากผู้ใช้งาน พบว่าน้ำยาล้างจานจากขี้เถ้าเปลือกปูต้มผสมน้ำมะกรูดมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ทั้งนี้ในด้านสิ่งแวดล้อมจากผลการทดสอบผู้ใช้งานส่วนใหญ่เห็นว่าน้ำยาล้างจานจากขี้เถ้าเปลือกปูต้มผสมน้ำมะกรูดสามารถช่วยลดปัญหาของสารเคมีตกค้างและรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง
ลิงค์ :