ผลของตะกอนชีวภาพภายใต้ระบบเลี้ยงสัตว์นํ้าแบบหมุนเวียนระบบปิดต่อการควบคุมความเข้มข้นของสารประกอบอนินทรีย์ไนโตรเจน
ผู้เขียน :
เอกนรินทร์ ธนะกิจไพรินท์
เผยแพร่วันที่ :
9 ธ.ค. 2559
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 21
เล่มที่ :
1
ฉบับที่ :
3
หน้า :
50-57
ผู้เผยแพร่ :
มหาวิทยาลัยบูรพา
รายละเอียด :
งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาถึงบทบาทความสามารถของตะกอนชีวภาพ ที่เกิดขึ้นภายใต้ระบบเลี้ยงสัตว์นํ้าแบบปิดต่อการบำบัดสารประกอบอนินทรีย์ไนโตรเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้มข้นของแอมโมเนีย และความเข้มข้นของไนไทรต์ ซึ่งการทดลองนี้ทำการเลี้ยงปลานิลที่ระดับความหนาแน่นเริ่มต้น 3.0 กก./ลบ.ม. โดยไม่มีการเปลี่ยนถ่ายนํ้าและแยกตะกอนแขวนลอยออกจากบ่อเลี้ยงเป็นระยะเวลา 60 วัน ผลการทดลองพบว่าการควบคุมปริมาณตะกอนชีวภาพให้อยู่ในช่วง 200 ถึง 800 มก.ของแข็งแขวนลอย/ล. ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณของเสียไนโตรเจนในช่วง 2.9 ถึง 9.6 มก.ไนโตรเจน/ล./วัน สามารถควบคุมความเข้มข้นของแอมโมเนียและไนไทรต์ในนํ้าให้ตํ่ากว่า 1.0 มก.ไนโตรเจน/ล. นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการบำบัดแอมโมเนียจากตะกอนชีวภาพในถังเลี้ยงปลานิลเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา โดยมีค่าเท่ากับ 0.023 ± 0.001 มก.ไนโตรเจน/มก.ของแข็งแขวนลอย/วัน ในวันที่ 30 ซึ่งมากกว่าค่าอัตราการบำบัดแอมโมเนียในช่วงก่อนวันที่ 30 และหลังจากวันที่ 45 อย่างชัดเจน นั่นคือเป็นการนำองค์ความรู้ตะกอนชีวภาพสู่การประยุกต์ใช้ในการบำบัดสารประกอบไนโตรเจนภายใต้ระบบเลี้ยงสัตว์นํ้าแบบหมุนเวียนได้อีกแนวทางหนึ่ง
ลิงค์ :