การบำบัดสารประกอบไนโตรเจนด้วยถังปฏิกรณ์ผสมผสานไนทริฟิเคชัน ดีไนทริฟิเคชัน
ผู้เขียน :
เอกนรินทร์ ธนะกิจไพรินท์
เผยแพร่วันที่ :
11 ธ.ค. 2558
วารสารวิชาการ :
วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 20
เล่มที่ :
1
ฉบับที่ :
2
หน้า :
164-173
ผู้เผยแพร่ :
มหาวิทยาลัยบูรพา
รายละเอียด :
งานวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ของการนาตัวกรองชีวภาพเพื่อใช้ในการบาบัดสารประกอบไนโตรเจน โดยผ่านปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างการเกิดกระบวนการไนทริฟิเคชันและดีไนทริฟิเคชันภายในถังปฏิกรณ์ใบเดียวกัน เพื่อการประยุกต์ใช้ในระบบเลี้ยงสัตว์น้าแบบปิด ซึ่งตัวกรองชีวภาพที่ใช้ในการบาบัดผ่านกระบวนการไนทริฟิเคชันได้แก่ วัสดุเส้นใยไบโอคอร์ตและหินพัมมิสบด ส่วนตัวกรองชีวภาพที่ใช้บาบัดผ่านกระบวนการดีไนทริฟิเคชันคือหินพัมมิสบด โดยการทดลองเริ่มจากการตรวจวัดอัตราการบาบัดไนทริฟิเคชันและดีไนทริฟิเคชันของตัวกรองชีวภาพแต่ละชนิด หลังจากนั้นนาตัวกรองชีวภาพ ที่เหมาะสมบรรจุลงในถังปฏิกรณ์ใบเดียวกัน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการบาบัดสารประกอบไนโตรเจน ซึ่งถังปฏิกรณ์ชุดควบคุมและชุดทดลองทุกถังจะบรรจุหินพัมมิสบดหนา 5 ซม. แต่ถังปฏิกรณ์ชุดทดลองจะเพิ่มการบรรจุเส้นใยไบโอคอร์ตยาว 1 ม.ร่วมกับหินพัมมิสบด โดยการเปรียบเทียบการบาบัดสารแอมโมเนียและไนเทรต ระหว่างสภาวะที่เติมและไม่เติมเมทานอล ลงในชั้นน้าเสียสังเคราะห์ ที่อัตราส่วนซีโอดีต่อไนเทรตไนโตรเจนเท่ากับ 5:1 ผลการทดลองพบว่าถังปฏิกรณ์ทุกชุดการทดลองสามารถบาบัดแอมโมเนียได้อย่างสมบูรณ์ผ่านกระบวนการไนทริฟิเคชัน โดยไม่พบการสะสมของไนไทรต์รวมทั้งการเติมเมทานอลช่วยเร่งการเกิดกระบวนการดีไนทริฟิเคชันได้อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งไม่มีผลยับยั้งการเกิดกระบวนการไนทริฟิเคภายใต้สภาวะที่มีปริมาณออกซิเจนละลายน้าเหมาะสม นั่นคือความเป็นไปได้ที่จะนาถังปฏิกรณ์ผสมผสานไนทริฟิเคชัน–ดีไนทริฟิเคชันสู่การประยุกต์ใช้ในการบาบัดไนโตรเจนภายใต้ระบบเลี้ยงสัตว์น้าหมุนเวียนแบบปิด
ลิงค์ :