การประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ (ส่วนรอยพระพุทธบาทพลวง)
ผู้เขียน :
หิรัญ หิรัญรัตนพงศ์ , เอกนรินทร์ ธนะกิจไพรินท์ , จิรัชยา ชานาญไพร , ปิยนาถ ขุนศรี
เผยแพร่วันที่ :
11 ก.พ. 2560
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 22
เล่มที่ :
1
ฉบับที่ :
3
หน้า :
557-568
ผู้เผยแพร่ :
มหาวิทยาลัยบูรพา
รายละเอียด :
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินขีดความสามารถ และกาหนดเกณฑ์มาตรฐานในการรองรับนักท่องเที่ยวต่อพื้นที่ในการจัดกิจกรรมนันทนาการของอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ (ส่วนรอยพระพุทธบาทพลวง) เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการผลกระทบที่เหมาะสมต่อการรองรับนักท่องเที่ยวให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ โดยทาการศึกษาในด้านกายภาพ ด้านนิเวศ ด้านสิ่งอานวยความสะดวก และด้านจิตวิทยา โดยผลการศึกษาพบว่า การประเมินขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพ จากการศึกษาในพื้นที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม เมื่อเปรียบเทียบจานวนนักท่องเที่ยวจานวน 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-2559 พบว่าในปี พ.ศ. 2559 มีจานวนนักท่องเที่ยวต่อวันมากที่สุดคือ 23,786 คน (ระดับค่ามาตรฐานคือ 21,334 คน/พื้นที่/ช่วงเวลาหนึ่ง) นั่นคือจานวนนักท่องเที่ยวเกินขีดความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่ ส่วนปริมาณขยะมูลฝอยจากการสารวจจุดเก็บขยะมูลฝอยจานวน 61 จุด พบว่า ทั้งด้านกลิ่นและด้านภูมิทัศน์ยังอยู่ในระดับต่ากว่าขีดความสามารถในการรองรับได้ ประเด็นด้านนิเวศวิทยาพบว่า ร้อยละการปกคลุมรากไม้ยังอยู่ในระดับต่ากว่าขีดความสามารถในการรองรับได้ ในส่วนร่องรอยการเด็ด หักของกิ่งไม้มีค่าเฉลี่ยผลกระทบอยู่ในระดับน้อย และร่องรอยความเสียหายของลาต้นไม้ใหญ่ผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนประเด็นด้านสิ่งอานวยความสะดวก พบว่า ปริมาณห้องน้ามีการใช้ประโยชน์เกินขีดความสามารถในการรองรับอยู่ในระดับรุนแรง แต่ปริมาณเก้าอี้นั่งพักมีการใช้ประโยชน์ในระดับต่า สาหรับประเด็นด้านจิตวิทยา จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวจานวน 421 คน พบว่าบริเวณพื้นที่ทางเดินและพื้นที่ส่วนรอยพระพุทธบาทพลวง มีความรู้สึกแออัดในระดับมากเกินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวด้านจิตวิทยาที่ระดับนัยสาคัญ 0.05
ลิงค์ :