แนวทางการบริหารจัดการมูลฝอย กรณีศึกษาเทศบาลตาบลเกาะขวาง จังหวัดจันทบุรี
ผู้เขียน :
เอกนรินทร์ ธนะกิจไพรินท์ , พิม แสนบุญศิริ , สุรนาถ สิทธิวารี
เผยแพร่วันที่ :
1 ก.พ. 2561
ประเภท :
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
วารสารวิชาการ :
วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 23
เล่มที่ :
1
ฉบับที่ :
1
หน้า :
194-206
ผู้เผยแพร่ :
มหาวิทยาลัยบูรพา
รายละเอียด :
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการมูลฝอยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเทศบาล ตำบลเกาะขวาง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 390 คน ตามสูตรคำนวณกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แบบสัมภาษณ์ได้แก่ คณะผู้บริหาร สมาชิกเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการและพนักงานเทศบาล จำนวน 53 ชุด และแบบสอบถามสำหรับประชาชนในชุมชนเทศบาลตำบลเกาะขวาง จำนวน 390 ชุด โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ซึ่งผลการศึกษาพบว่าประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเกาะขวาง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ส่วนใหญ่มีวิธีการจัดการมูลฝอยด้วยตนเอง แต่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการคัดแยกประเภทมูลฝอย โดยมีการทิ้งมูลฝอยตามภาชนะที่จัดหาไว้เองในครัวเรือนก่อนจะนำไปกองทิ้งไว้ตามที่สาธารณะ หรือนำไปเผา ซึ่งมูลฝอยส่วนใหญ่ที่เกิดในชุมชนเป็นประเภทมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยย่อยสลายจึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ส่วนของเทศบาลได้มีการคาดการณ์ปริมาณมูลฝอยที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตจากจำนวนประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ทางเทศบาลต้องมีแนวทางบริหารจัดการด้วยการเพิ่มจำนวนภาชนะรองรับมูลฝอยที่มีฝาปิดมิดชิด และรวมไปถึงจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชุมเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยอย่างยั่งยืนตามหลักวิชาการ
ลิงค์ :