การพัฒนารูปแบบการสืบสานภูมิปัญญาอาหารจันทบูรด้วยเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งและสื่อสังคมบนฐานคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อก้าวสู่ชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ผู้เขียน :
อุทิศ บำรุงชีพ , พักต์วิภา โพธิ์ศรี , สมพงษ์ เส้งมณีย์ , จำเริญ คังคะศรี
เผยแพร่วันที่ :
14 ต.ค. 2563
วารสารวิชาการ :
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ
เล่มที่ :
5
ฉบับที่ :
10
หน้า :
ผู้เผยแพร่ :
วัดวังตะวันตก อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช
รายละเอียด :
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการสืบสานภูมิปัญญาอาหาร จันทบูร 2) พัฒนารูปแบบการสืบสานภูมิปัญญาอาหารจันทบูรด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งและสื่อสังคมบนฐานคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ศึกษาผลการใช้และนําเสนอ รูปแบบการสืบสานภูมิปัญญาอาหารจันทบูร กลุ่มตัวอย่างได้มาจากวิธีการคํานวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ และสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากชุมชนนวัตวิถี วิสาหกิจชุมชน และ กลุ่มแม่บ้านในจันทบุรี ประกอบด้วย ระยะที่ 1 จํานวน 398 ครัวเรือน ระยะที่ 2 จํานวน 20 ครัวเรือน และระยะที่ 3 จํานวน 30 ครัวเรือน เครื่องมือวิจัย ที่ใช้คือ เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ โครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test และการวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการสืบสานภูมิปัญญาอาหารจันทบูรที่มีสูงสุด คือ การเล่า เรื่องราวภูมิปัญญาอาหารจันทบูรให้กับลูกหลาน บุคคลใกล้ชิด โดยอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.94, S.D. = 1.20) และภาพรวมของการสืบสานภูมิปัญญาอาหารจันทบูรอยู่ในระดับ น้อย (x = 1.75, S.D. = 0.21) 2) รูปแบบการสืบสานภูมิปัญญาอาหารจันทบูรมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ | - Proud Model ได้แก่ แนะนําสร้างความเข้าใจ (: Introduction to Ideaสร้างความภูมิใจและแรงบันดาลใจ (P: Proud & Inspiration) สร้างสรรค์ปฏิบัติในสถานการณ์จริง (R: Real - World Experiment and Creating) สร้าง โอกาสการแบ่งปัน (O: Open Mind and Sharing Opportunities) ออกแบบสารอย่างมี ความหมายเพื่อการพัฒนา (U: User Interface and User Experience) และสื อสาร บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (D: Direct Communication on the Internet) 3) ผลการทดลอง ใช้รูปแบบ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้และทักษะการสืบสานภูมิปัญญาหลังการเข้าร่วมสูงกว่า ก่อนการเข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มตัวอย่างมี ความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด ผู้เชียวชาญรับรองรูปแบบในระดับมากที่สุด
ลิงค์ :